เป้าหมายหลัก

week8

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๘  วันที่  ๒๙มิถุนายน- ๓กรกฎาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.............................................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  ใบตอง
สาระสำคัญ :        ปัจจุบันมีภาชนะให้เราเลือกบรรจุ เลือกใส่ได้หลากหลายทั้งที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ ใบตองก็เป็นอีกวัสดุหนึ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายบรรจุ ห่อได้ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน  เป็นวัสดุที่หาง่าย ในบ้าน ในชุมชน ปัจจุบันใบตองก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดขยะและช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม

Big  Question :   สิ่งที่อยู่รอบตัวเราล้วนมีคุณค่ามีประโยชน์ เราจะใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
                                                 
เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านวิเคราะห์สำนวน สุภาษิต คำพังเพย และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม 




Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 คุณค่าของวรรณกรรม และการประยุกต์ใช้
คำถาม:
สิ่งที่อยู่รอบตัวเราล้วนมีคุณค่า มีประโยชน์ เราจะใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Place Mat แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่องสรุปเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ใบตอง”
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ครูนำใบตองมาให้นักเรียนดู นักเรียนเห็นอะไร นึกถึงอะไรเมื่อเห็นสิ่งนี้
ขั้นกิจกรรม
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยใช้เรื่องราวทีเกี่ยวข้องกับตนเอง
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพความคิด “ใบตอง” ในความคิดของนักเรียน จะเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง อย่างไร
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง ปัจจุบันนักเรียนปฏิบัติอย่างไร และจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด “ใบตอง ของฉัน” (การใช้ประโยชน์จากใบตอง)

ภาระงาน
-อ่านและวิเคราะห์เรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน เกี่ยวกับใบตองและการใช้งาน

- สรุปการอ่าน นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน“ใบตอง”



ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “ใบตอง” สามารถวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับละครในปัจจุบันและอดีตผู้อื่น และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์เกี่ยวกับละครในอดีตและปัจจุบัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์ ;
 สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
คำถาม:
นักเรียนจะนำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยให้ผู้อื่นเข้าใจและร่วมเรียนรู้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ รวมทั้งการนำสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไปปรับใช้
- Black Board Share คำศัพท์และการสื่อความหมายของคำ
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ใบตอง”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านวรรณกรรมที่ผ่านมา ทักทายและชื่นชมผลงานแผนภาพความคิด “ใบตอง”
ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูนำใบตองแบบต่างๆมาให้นักเรียนสังเกตศึกษา “นักเรียนคิดเห็นอะไร นักเรียนคิดว่าสิ่งนี้สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร” นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นอกจากใบตองกล้วยแล้วยังมีใบตองใดอีกบ้าง นักเรียนจะนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ทำอย่างไร ...คำว่า ยกครู  สำนวน ตามมีตามเกิด กล่าวถึงสิ่งใด นอกจากสำนวนนี้ ยังมีสำนวนใดที่นักเรียนรู้จักอีกบ้าง” นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน
เชื่อม:
-นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละสามคน แต่ละกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำไปตองไปใช้ในชีวิตประจำวัน เชื่อมโยงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับใบตองว่ามีสิ่งใดบ้าง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่ม(จับฉลาก) เขียนชาร์ตความรู้ “คุณค่าของใบตอง” วิถีชีวิต และการประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์
ขั้นสรุป
-ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทบทวนภาระงานที่นักเรียนต้องรับผิดชอบต่อ (ชาร์ตความรู้)
-นักเรียนรู้จัก หรือเคยได้ยินสำนวน สุภาษิต คำพังเพยใดที่กล่าวถึงใบตองบ้าง
ภาระงาน
-ศึกษาคว้าเกี่ยวกับใบตอง สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคุณค่าของบตอง
-


ชิ้นงาน
ชาร์ตความรู้ “คุณค่าของใบตอง”


ความรู้
เข้าใจและสามารถนำใบตองไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีทักษะในการประมวล สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับใบตองและสามารถนำเสนอ แลกเปลี่ยนกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(ชาร์ตความรู้)
-สืบค้นข้อมูล ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับใบตองแล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายามในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์ ;
 สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
คำถาม:
นักเรียนจะนำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยให้ผู้อื่นเข้าใจและร่วมเรียนรู้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ รวมทั้งการนำสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไปปรับใช้
- Black Board Share ผลการคิดวิเคราะห์ ตีความสำนวนฯ

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ใบตอง”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ชื่นชมผลงานชาร์ตความรู้ใบตอง
ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูเล่านิทาน สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากเรื่องที่ฟัง  คิดอย่างไร”
-นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน แต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกบัตรคำสำนวน สุภาษิต คำพังเพย พร้อมกิจกรรมที่ต้องนำเสนอฯ (ซองบัตรคำ)
-นักเรียนแต่กลุ่มวิเคราะห์ ตีความบัตรคำสำนวนฯที่ได้แล้วนำเสนอ
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ “สิ่งที่แต่ละกลุ่มนำเสนอกล่าวถึงสิ่งใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น”
ใช้:
นักเรียนเสนอสำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่ตนเองรู้จักเพิ่มเติม เลือกสำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่สนใจ ถ่ายทอดผ่านการแต่งนิทานประกอบภาพสั้นๆ
**สร้างสรรค์ชิ้นงานต่อเนื่อง สรุปงานในวันศุกร์
ภาระงาน
-วิเคราะห์ ตีความบัตรคำสำนวนฯแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

ชิ้นงาน
นิทานประกอบภาพ (สำนวนฯ)

ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อความผ่านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนผ่านนิทานประกอบภาพอย่างสร้างสรรค์

ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(นิทาน)
-สืบค้นข้อมูล ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสำนวนฯแล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายาม มุ่งมั่นในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์ ;
 สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
คำถาม:
นักเรียนจะนำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยให้ผู้อื่นเข้าใจและร่วมเรียนรู้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ รวมทั้งการนำสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไปปรับใช้
Card & Chartเ“เกิดสำนวนขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ปัจจุบันยังใช้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น”
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ใบตอง”
ใช้:
***กิจกรรมต่อจากวันพฤหัสบดี (สร้างสรรค์ชิ้นงาน/เตรียมความพร้อมในการนำเสนอ)
-นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างสรรค์ชิ้นงานสำนวนฯ เพื่อนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ผ่านนิทานประกอบภาพอย่างสร้างสรรค์แล้วเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขั้นสรุป
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสำนวน ฯ “เกิดสำนวนขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ปัจจุบันยังใช้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น”
-สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างสร้างสรรค์ทั้งเรื่องใบตองและสำนวนฯ




ภาระงาน
-วิเคราะห์ ตีความสำนวน สุภาษิต คำพังเพย

ชิ้นงาน
นิทานประกอบภาพ (สำนวนฯ)

ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อความผ่านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนผ่านนิทานประกอบภาพอย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(นิทาน)
-สืบค้นข้อมูล ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสำนวนฯแล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายาม มุ่งมั่นในการทำงาน


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน






























1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้นักเรียนอ่านหนังสือมาจากที่บ้านในช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์วันแรกของการเรียนรู้สัปดาห์นี้จึงเป็นการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เนื้อเรื่อง สาระสำคัญเป็นอย่างไร เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน พี่ๆป.๖ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และบางคนก็มีคำถามเกี่ยวกับคำที่ไม่รู้จักในเรื่อง เช่นคำว่า เตี่ยว เจียนตองคืออะไร ขนมต้มเป็นอย่างไร ฯลฯ พี่ๆที่รู้จักก็จะช่วยเล่าแลกเปลี่ยนครูแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม หลังจากนั้นพี่ๆแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันเรายังใช้ทำอะไรได้บ้าง” พี่ๆหลายคนเสนอว่าส่วนใหญ่เหมือนกับในเรื่องที่อ่านแต่ปัจจุบันเราใช้ไม่มากเท่าเมื่อก่อนเพราะตอนนี้เราใช้ถุงพลาสติกในการห่อแทนใบตอง แถมมีถ้วยพลาสติก มีกล่องโฟมที่สะดวกสบายกว่า แต่ก็เป็นขยะที่เป็นมลพิษไม่เหมือนใบตอง เมื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนแล้วแต่ละคนช่วยสรุปคุณค่า ประโยชน์ของใบตอง แผนภาพความคิด (รูปภาพ)*** การบ้าน แต่งเรื่องจากคำศัพท์ในเรื่อง
    เมื่อนักเรียนวิเคราะห์เรื่องที่อ่านแล้วครูนำคำ สำนวนฯจากเรื่องที่อ่านมาให้นักเรียนวิเคราะห์แลกเปลี่ยน (ยกครู หมาเห่าใบตองแห้ง เจ้าขุนมูลนาย ) คำเหล่านี้กำลังสื่อสารอะไรกับเรา พี่ๆเสนอเช่น ยกครูน่าจะเป็นการที่เราต้องไปไหว้ครูตอนที่เราจะทำสิ่งต่างๆ เป็นการไหว้ครู คำบนกระดานเป็นวลีเพราะประโยคไม่สมบูรณ์ เป็นสำนวนเพราะอย่างหมาเห่าใบตองแห้ง เป็นเหมือนสำนวน ฯลฯ “พี่ๆรู้จักสำนวนฯใดอีกบ้างที่นอกเหนือจากคำที่พบในหนังสือ” นักเรียนช่วยกันเสนอ เพื่อนๆสามคนช่วยกันเขียนสำนวนที่เพื่อนเสนอบนกระดาน สำนวน สุภาษิต คำพังเพย เหล่านี้กำลังสื่อสารอะไรกับเรา นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสำนวนฯต่างว่าสื่อถึงสิ่งใด (เป็นสำนวนที่นักเรียนบางส่วนยังไม่เข้าใจ หรือเพิ่งเคยยิน ) หลังจากนั้นนักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ๓-๔วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสำนวนฯนั้น (Place MatX) หลังจากนั้นแต่ละคนเลือกสำนวนฯที่สนใจแต่งเรื่อง(ใช้สิ่งที่สำนวนสื่อสารมาแต่ง)วันต่อมาพี่ๆอ่านนำเสนอสำนวนนั้นๆแล้วเพื่อนแลกเปลี่ยนว่าสื่อถึงสำนวนฯใด
    วันสุดท้ายของการเรียนรู้นักเรียนได้ทดลองการใช้ใบตองในการห่อขนม(จากเรื่องที่อ่าน) แต่ละกลุ่มได้การห่อที่แตกต่างกัน เช่น ห่อขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ขนมหมก ข้าวต้มผัด ข้าวต้มมัด กระทงห่อหมก เมื่อนักเรียนทำแล้วแต่ละกลุ่มมาแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับสิ่งที่ทำว่าได้เรียนรู้อะไร และรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทำ เช่น
    พี่พุด : ผมไม่เคยห่อขนมเทียนจากใบตอง เป็นครั้งแรกที่ได้ทำ ...ดูจากเพื่อน เพื่อนช่วยแนะนำครับ
    พี่แจ๊ป : ผมเคยแต่ห่อขนมจากใบตอง แม่ผมก็ห่อเก่ง แต่ผมไม่เคยทำกระทงไม่รู้ว่าต้องทำยังไง แต่พี่แป้งทำเป็นเลยทำตามที่พี่แป้งแนะนำครับ
    พี่ออม: .ใบตองมันแตก ห่อยากค่ะ
    “จากกิจกรรมที่เราทำเมื่อสักครู่พี่ๆนึกถึงสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยใดบ้างคะ”
    พี่น๊อต : มือไม่พายเอาเท้าลาน้ำครับ เพราะตอนที่เพื่อนทำผมมัวแต่เล่นดินน้ำมันแล้วดินน้ำมันก็ทำให้เลอะครับ
    พี่โจ : ผักชีโรยหน้าครับ เพราะจริงๆแล้วเราไม่ได้ทำดีทุกอันตั้งแต่แรกครับมีอันที่ไม่สวยด้วย แต่ตอนที่ให้ดูก็เอาอันที่สวยไว้ข้างบนครับ
    พี่แจ๊ป : ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นครับ เพราะผมทำกระทงไม่เป็นแต่ก็พยายามครับ
    พี่แพรว : หมาเห่าใบตองแห้งค่ะ เพราะของที่เราใช้เป็นใบตองค่ะ

    ตอบลบ