เป้าหมายหลัก

week5

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๕  วันที่  ๘-๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.............................................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  สัมมาคารวะ
สาระสำคัญ :        ความเคารพ นอบน้อมนั้นเป็นสิ่งที่เราพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เมื่อเคารพผู้อื่นก็เท่ากับเราเคารพตนเองด้วย

Big  Question :   นักเรียนจะปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะและเคารพต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร
                                                 

เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่อง รวมทั้งจากสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแล้วนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ สามารถอ่าน  และเขียนอักษรย่อ รวมทั้งการนำไปใช้ได้ถูกต้อง   มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม  สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้


Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 อ่านสรุปสาระสำคัญ
คำถาม:
นักเรียนจะปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะและเคารพต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “สัมมาคารวะ”
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ครูเล่าเกี่ยวกับวัยเด็ก ก่อนไปเรียนและหลังจากกลับจากโรงเรียนต้องทำอย่างไร...นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งเรื่องใหม่ (ให้เป็นเรื่องของตนเอง)
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพความคิด “สัมมาคารวะ” ในความคิดของนักเรียน
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง ปัจจุบันนักเรียนปฏิบัติอย่างไร คิดว่าสิ่งที่ทำเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด

ภาระงาน
-อ่านและวิเคราะห์เรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน

- สรุปการอ่าน นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน


ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “สัมมาคารวะ” สามารถวิเคราะห์แลกเปลี่ยนกับผู้อื่น และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์ ;
 สื่อความ และนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อความคำและนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “สัมมาคารวะ”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านวรรณกรรมที่ผ่านมา ทักทายและชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)

ขั้นสอน
ชง:
-ครูอ่านคำศัพท์ใหม่จากเรื่อง “สัมมาคารวะ” และคำศัพท์พื้นฐานของชั้น ป.๖ นักเรียนเขียนคำศัพท์ตามคำบอก  ๒๐ คำ
-ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบคำศัพท์ที่ถูกต้องและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายและการสื่อความ
-นักเรียนค้นคว้าและหาความหมายของคำศัพท์เพิ่มเติม
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความคำศัพท์เพิ่มเติม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สนใจแต่งประโยคความรวม ๕ประโยค พร้อมทั้งวาดภาพตกแต่งให้สวยงาม (เพราะ  แต่  แต่ทว่า  และ พร้อมทั้ง)
ขั้นสรุป
-ครูสุ่ม(จับฉลาก)นักเรียนนำเสนอผลงานประโยคสร้างสรรค์
-ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทบทวนการบ้าน
ภาระงาน
-เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
-แลกเปลี่ยนความหมาย วิเคราะห์การสื่อความและการนำคำศัพท์ไปใช้

ชิ้นงาน
ประโยคสร้างสรรค์
*การบ้าน
เลือกคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก ๑ คำ แล้วเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ


ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แต่งประโยคสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยคสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์
 อักษรย่อ
คำถาม:
อักษรย่อคืออะไร นักเรียนจะนำอักษรย่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share อักษรย่อและการสื่อความหมาย
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการใช้อักษรย่อ
- Show and Share ผลงานแต่งเรื่องสร้างสรรค์โดยใช้อักษรย่อ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “สัมมาคารวะ”
- ตัวอย่างอักษรย่อ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา แล้วชื่นชมผลงานการแต่งประโยคสร้างสรรค์ที่นักเรียนทำเป็นการบ้าน

ขั้นสอน
ชง:
-ครูนำบัตรคำอักษรย่อติดบนกระดาน แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำและการสื่อความหรือการนำไปใช้
-นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำและการสื่อความหมายของคำเพิ่มเติมจากหนังสือ ผู้รู้ หรืออินเทอร์เน็ต
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละคนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอักษรย่อและการนำไปใช้
ใช้:
นักเรียนเขียนคำเต็ม การเขียนอักษรย่อที่พบในชีวิตประจำวัน
ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงานประโยคสร้างสรรค์โดยใช้อักษรย่อ ครูและเพื่อนชื่นชมและแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสม
ภาระงาน
-วิเคราะห์อักษรย่อและการนำไปใช้ สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้อักษรย่อเพื่อนำไปใช้แต่งประโยค
-ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอักษรย่อและการนำไปใช้ แล้วแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ค้นคว้า

ชิ้นงาน
เขียนคำเต็ม การเขียนอักษรย่อที่พบในชีวิตประจำวัน
ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์คำที่ใช้อักษรย่อ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แต่งเรื่องสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความหมายของอักษรย่อ การนำไปใช้อย่างเหมาะสม
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข





Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์
 อักษรย่อ
คำถาม:
-นักเรียนจะนำอักษรย่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
-นักเรียนจะถ่ายทอดและสรุปสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับอักษรย่อให้ผู้อื่นเข้าใจและร่วมเรียนรู้
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share อักษรย่อและการสื่อความหมาย
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการใช้อักษรย่อและการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
- Show and Share ผลงานแต่งเรื่องสร้างสรรค์โดยใช้อักษรย่อ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “สัมมาคารวะ”
- ตัวอย่างอักษรย่อ


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับอักษรย่อ นำเสนอผลงาน (ส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอ)

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับอักษรย่อและการนำไปใช้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร"
เชื่อม:
นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอักษรย่อ  การสื่อความหมาย และการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับอักษรย่อ “นักเรียนจะแต่งเรื่องสร้างสรรค์อย่างไร (ใช้อักษรย่อที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน)

ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงาน ทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากอักษรย่อและการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ภาระงาน
-วิเคราะห์เกี่ยวกับการเขียน การนำอักษรย่อที่พบเห็นบ่อยๆในชีวิตประจำวันไปใช้อย่าง
สร้างสรรค์
-ศึกษาและถอดอักษรย่อที่พบในชีวิตประจำวัน

ชิ้นงาน
เรื่องสร้างสรรค์ (อักษรย่อที่พบในชีวิตประจำวัน)
ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์คำที่ใช้อักษรย่อ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แต่งเรื่องสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความหมายของอักษรย่อ การนำไปใช้อย่างเหมาะสม
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน






















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ ป.๖เรียนรู้ภาษาไทยผ่านการอ่านวรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เรื่อง สัมมาคารวะ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเคารพต่อผู้อื่นทั้งต่อผู้ใหญ่หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในวันเดียวกัน หลังการอ่านพี่ๆช่วยกันวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในเรื่องว่าแต่ละคนคิดเห็นอย่างไรต่อเรื่องที่อ่าน เช่น
    พี่ออม : การมีสัมมาคารวะต่อผู้อื่นและต่อผู้ใหญ่เป็นการเคารพต่อผู้อื่น เคารพตนเองในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
    พี่ครัช : เราควรเคารพผู้อื่นเพราะเราทุกคนเท่ากัน
    ในส่วนของหลักภาษาสัปดาห์นี้เป็นเรื่องอักษรย่อและการนำไปใช้ ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “อักษรย่อคืออะไร เราสามารถพบเห็นได้ที่ไหนบ้าง จะนำไปใช้อย่างไร”ก่อนการเรียนรู้พี่ๆแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลากหลายตามความเข้าใจก่อนที่จะได้เรียนรู้ เช่น
    พี่ตะวัน พี่พุด : น่าจะเป็นการย่อประโยคยาวๆให้สั้นลง
    พี่แจ๊ป พี่เช็ค : น่าจะเป็นการย่อคำยาวๆให้สั้นลง
    พี่คอร์ด : น่าจะเป็นคำย่อสั้นๆ
    “พี่ๆคิดว่าเราสามารถนำอักษรย่อไปทำอะไรได้บ้าง” พี่ๆหลายคนเสนอ เช่น
    พี่สตางค์ พี่ทัช : แต่งนิทาน แต่งการ์ตูน แต่งละคร
    พี่แจ๊ป พี่มิว : เขียนจดหมาย แต่งเพลง ทำหนังสือ
    พี่ออม : ปรับใช้ในการอ่านหนังสือที่มีอักษรย่อ จะได้เข้าใจ
    พี่เช็ค พี่ภูมิ : ป้ายทะเบียนรถ ทำบัตรประชาชน เขียนที่อยู่
    พี่ครัช : ใช้บันทึกข้อมูลให้ได้เร็วๆ
    หลังจากได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจแล้ว นักเรียนได้ค้นคว้าเกี่ยวกับอักษรย่อและการนำไปใช้ ซึ่งนักเรียนช่วยกันสรุปความเข้าใจว่าการย่อ หรือการเขียนอักษรย่อนั้นมีหลายวิธีเช่น ย่อให้เหลือคำข้างหน้าคำเดียว ย่อเป็นคำใหม่สั้นๆ ย่อจากพยางค์แรกพยางค์เดียว ย่อพยางค์สุดท้าย เป็นต้น หลังจากนั้นนักเรียนเขียนสรุปอักษรย่อที่พบในชีวิตประจำวันลงในสมุด เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอักษรย่อแล้วนักเรียนได้ช่วยกันวิเคราะห์ข้อความสั้นๆที่ครูเขียนและมีอักษรย่อแทรกในบทความ ข้อความนั้น โดยนักเรียนแบ่งเป็นสามกลุ่ม แต่ละกลุ่มเลือกถอดข้อความที่มีอักษรย่อจากใบงานที่แตกต่างกัน(กำหนดเวลา)แล้วนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้เรียนรู้ร่วมกัน สัปดาห์นี้ในชั่วโมงเรียนพี่ๆยังไม่ได้นำอักษรย่อไปใช้ในการทำงาน (แต่งเรื่อง) พี่ๆจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมในสัปดาห์ที่ ๖ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้คำการันต์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์

    ตอบลบ