เป้าหมายหลัก

week2

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๒  วันที่  ๑๘-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.........................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  น้ำฝน
สาระสำคัญ :        วิถีที่เรียบง่าย อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเห็นคุณค่า ปรับชีวิตวิถีให้สมดุลกับธรรมชาติ ไม่ปล่อยให้โอกาสและเวลาสูญเปล่า

Big  Question :   “น้ำฝน” เมื่อได้ยินคำนี้ นักเรียนคิดว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง เหตุใดจึงคิดเช่นนั้น


เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมายของคำ ประโยค และเรื่องที่อ่านจับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เขียนย่อความเรื่องที่อ่านได้ มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถอ่านและเขียนสรุปเรื่องย่อได้ถูกต้อง มีมารยาทในการพูดและฟัง



Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 อ่านสรุปสาระสำคัญ
คำถาม:
“น้ำฝน” เมื่อได้ยินคำนี้ นักเรียนคิดว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง เหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
เครื่องมือคิด :
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “น้ำฝน”

ขั้นนำ
ครูเล่าเรื่องหนูที่มารบกวนบ้านเรือนและแมวที่เลี้ยงให้นักเรียนฟัง นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแมวที่ตนเองเลี้ยง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพความคิด “น้ำฝน”
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับนิทานที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง จะทำสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้บ้าง
ชิ้นงาน
แผนภาพโครงเรื่อง

ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม “น้ำฝน”
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับ “น้ำฝน”นักเรียนคิดว่ามีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง เหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
- สรุปการอ่าน นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน


ความรู้
วิถีที่เรียบง่าย อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเห็นคุณค่า ปรับชีวิตวิถีให้สมดุลกับธรรมชาติ ไม่ปล่อยให้โอกาสและเวลาสูญเปล่า
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์ ;
 สื่อความ และนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อความคำและนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “น้ำฝน”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านวรรณกรรมที่ผ่านมา ทักทายและชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)

ขั้นสอน
ชง:
-ครูอ่านคำศัพท์ใหม่จากเรื่อง “น้ำฝน” และคำศัพท์พื้นฐานของชั้น ป.๖ นักเรียนเขียนคำศัพท์ตามคำบอก  ๒๐ คำ
-ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบคำศัพท์ที่ถูกต้องและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายและการสื่อความ
-นักเรียนค้นคว้าและหาความหมายของคำศัพท์เพิ่มเติม
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความคำศัพท์เพิ่มเติม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สนใจแต่งประโยคความรวม ๕ประโยค พร้อมทั้งวาดภาพตกแต่งให้สวยงาม
ขั้นสรุป
-ครูสุ่ม(จับฉลาก)นักเรียนนำเสนอผลงานประโยคสร้างสรรค์
-ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทบทวนการบ้าน
ภาระงาน
-เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
-แลกเปลี่ยนความหมาย วิเคราะห์การสื่อความและการนำคำศัพท์ไปใช้

ชิ้นงาน
ประโยคสร้างสรรค์
*การบ้าน
เลือกคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก ๕ คำเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์และวาดภาพประกอบ (ให้มีคำเชื่อม และ แต่ เพราะ ทั้ง...และ แต่ทว่า)


ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แต่งประโยคสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยคสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะความที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์
 ย่อความ
คำถาม:
การเขียนย่อความเรื่องราวที่อ่านต้องทำอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share การเขียนย่อความ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการย่อความ
- Show and Share ย่อความ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “น้ำฝน”
-บทความ


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา แล้วชื่นชมผลงานการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ที่นักเรียนทำเป็นการบ้าน

ขั้นสอน
ชง:
-ครูแจกบทความให้นักเรียนคนละเรื่อง นักเรียนอ่านบทความของตนเอง
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะย่อความเรื่องราวที่อ่านอย่างไรให้คงสาระสำคัญไว้” นักเรียนเขียนย่อความบทความที่อ่านพร้อมทั้งวาดภาพประกอบสร้างสรรค์
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนย่อความ  ผ่านคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนมีวิธีย่อความบทความที่อ่านอย่างไร”
-นักเรียนช่วยกันเสนอแนะ ครูช่วยเขียนสิ่งที่นักเรียนเสนอแนะบนกระดาน
ใช้:
นักเรียนนำบทความที่ย่อไว้มาใช้ในการสรุปเป็นการ์ตูนช่อง เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้น่าสนใจมากขึ้น
ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงานการ์ตูนช่องจากการย่อบทความ
ภาระงาน
อ่านและย่อบทความแล้วแลกเปลี่ยนวิธีการย่อความกับเพื่อนรวมทั้งเสนอแนะการนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์

ชิ้นงาน
-การ์ตูนช่อง
ความรู้
เข้าใจเรื่องราวที่อ่านสามารถเขียนสรุป และย่อความได้อย่างครบองค์ประกอบสาระสำคัญ แล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(ย่อความ)
-นำเสนอ สื่อความหมายเรื่องที่อ่านให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการย่อความ
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะความที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์
 ย่อความ
คำถาม:
จะนำสิ่งที่นักเรียนเขียนย่อความไว้ไปใช้ให้เหมาะสมอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share การเขียนย่อความ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการย่อความ
- Show and Share ย่อความ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “น้ำฝน”
-บทความ


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา แล้วชื่นชมผลงานการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ที่นักเรียนทำเป็นการบ้าน

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำการย่อความไปใช้อย่างไรบ้าง
เชื่อม:
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะ ครูช่วยเขียนสิ่งที่นักเรียนเสนอแนะบนกระดาน
- นักเรียนอ่านบทความแล้วสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องสั้นที่อ่าน (สาระสำคัญและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องที่อ่าน)
-นักเรียนช่วยกันทบทวนการย่อความพร้อมทั้งเสนอแนะการนำไปใช้เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนอ่านเรื่องสั้น แล้วย่อความเรื่องที่อ่าน แล้วนำสาระสำคัญของเรื่องที่ย่อไปใช้ในการแต่งนิทาน

ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงานย่อความ และนิทานจากการย่อบทความ
ภาระงาน
อ่านเรื่องสั้นและย่อบทความแล้วแลกเปลี่ยนวิธีการย่อความกับเพื่อน

ชิ้นงาน
-ย่อความเรื่องสั้น  นิทาน
** การบ้าน นิทาน
ความรู้
เข้าใจเรื่องราวที่อ่านสามารถเขียนสรุป และย่อความได้อย่างครบองค์ประกอบสาระสำคัญ แล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(ย่อความ)
-นำเสนอ สื่อความหมายเรื่องที่อ่านให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการย่อความ
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะความที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน




































1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เริ่มเข้าสู่บทเรียนแล้ว นักเรียนอ่านวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน น้ำฝน เริ่มต้นนำโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับฤดูกาลและวิถีชีวิต ความทรงจำเกี่ยวกับฝน พี่แม็ค : ตอนฝนจกผมไปจับอึ่งครับ เพิ่งได้ไปตอนที่ฝนตกตั้งแต่ตอนแรกเลยครับ ได้อึ่งตั้งสามถุงปุ๋ย ..เอาไปขายครับ ขายกิโลละ๑๐๐ครับ ที่พี่ทัศ : บ้านผมตอนฝนตกน่ะครับมีคนถูกฟ้าผ่าครับ เขาไปไถไร่ตอนที่ฝนกำลังตก มีคนไปช่วยแต่ช่วยไม่ทันครับ ฯลฯ เมื่อสนทนากันแล้วนักเรียนอ่านหนังสือแล้วสรุปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยการสลับกันทวน ตัวละครมีใครบ้าง แต่ละตัวละครมีลักษณะย่างไร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ใด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการอ่านเรื่องนี้
    พี่ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เช่น
    พี่ออม : รู้คำศัพท์ใหม่ๆเช่นคำว่า “น้ำกลางหาว” คือการรองน้ำฝนโดยไม่ผ่านรางน้ำค่ะ
    พี่แบงค์ : เราไม่ควรเล่นน้ำฝนเยอะครับเพราะอาจทำให้เป็นหวัด
    พี่พุด พี่โจ : ได้รู้เกี่ยวกับการทำยาว่าน้ำฝนสามารถทำยาได้ เช่นยาหยอดตา ยาสมุนไพร
    พี่สตางค์ : ผมอยากลองหาบน้ำด้วยไม้คานดูครับ
    พี่แป้ง : เวลาเราใช้น้ำเราต้องประหยัด ใช้น้ำให้คุ้มค่า
    พี่แดง : ฝนตกครั้งแรกเราจะไม่รองน้ำฝนใช้
    เมื่อนักเรียนได้อ่านวรรณกรรมและวิเคราะห์เกี่ยวกับคำ การสื่อความ และการนำไปใช้แล้วนักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการย่อความ เริ่มต้นโดยการเล่าทบทวนเรื่องที่อ่าน “น้ำฝน” สั้นๆ แล้วอ่านบทเพลง/กาพย์ยานี ๑๑ “เปิบข้าว”แล้ววิเคราะห์เรื่องที่อ่านว่าต้องการสื่อสารอะไร มีสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านอย่างไรเมื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนกันแล้วจึงสื่อความเรื่องที่อ่านผ่านการ์ตูน๓ช่อง แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ เมื่อนำเสนอแล้ววันต่อมาครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะย่อความเรื่องที่อ่านอย่างไรให้เห็นสาระสำคัญและเรื่องที่ต้องการสื่อสาร” นักเรียนช่วยกันเสนอว่าต้องมีตัวละคร ฉาก สถานที่ เหตุการณ์ ตอนจบ” วันต่อมานักเรียนแต่ละคนเลือกบทความ /เรื่องที่สนใจ (ครูเตรียมแล้วนักเรียนเลือก)แล้วเขียนย่อความเรื่องที่อ่านนำเสนอให้ครูและเพื่อนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ตอบลบ