เป้าหมายหลัก

week1

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๑  วันที่  ๑๔-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.........................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  คาดเดาเรื่องก่อนการเรียนรู้
สาระสำคัญ :        วรรณกรรมเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน มักมีการปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมคุณค่าของสรรพสิ่ง และความดีงาม แตกต่างไป เพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ  รวมถึงวีถีชีวิตที่ดีงาม สภาพและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อมในอดีตอันส่งผลมาถึงปัจจุบัน
Big  Question :   เราจะเรียนรู้ผ่านวรรณกรรมอย่างไร


เป้าหมายย่อย :    นักเรียน มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน อ่านและเขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง  มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู การพูด  สามารถแสดงความคิด ความรู้สึกและจินตนาการได้อย่างอิสระ  รวมทั้งสามารถคาดเดาเรื่องหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล บอกเล่าให้คนอื่นฟังได้ สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อยากเรียนรู้และถ่ายทอดผ่านการเล่า เขียนบันทึกให้คนอื่นรับทราบได้


Day

Input

Process 

Output

Outcome









พฤหัสบดี

โจทย์
 - สร้างฉันทะสร้างแรงบันดาลใจ
-คาดเดาเรื่อง
คำถาม:
- นักเรียนคิดว่า เรื่องราว เนื้อหาในวรรณกรรมจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share สิ่งที่สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณกรรมที่ฟัง ข้อคิดที่ได้จากการฟังเรื่องเล่า
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องที่ได้ฟัง
- Show and Share ผลงานคาดเดาเรื่องตามจินตนาการ
- Wall Thinking ผลงานนิทาน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

ขั้นนำ
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงวันปิดภาคเรียนที่ผ่านมานักเรียนมีเรื่องราวใดมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟังบ้าง
- ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับช่วงปิดเรียนที่ผ่านมา แล้วเล่าย้อนไปถึงวัยเด็ก เหมือนหรือต่างจากนักเรียนอย่างไร
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสื่อสารเรื่องราว เหตุการณ์ในช่วงปิดเรียนให้เพื่อนเข้าใจได้อย่างไร โดยไม่ใช้การพูดเล่าเรื่อง”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบที่นักเรียนจะสื่อสาร หรือเล่าเรื่องราวในช่วงปิดเรียนโดยไม่ใช้การเล่าเรื่อง (นักเรียนเลือกเองตามความสนใจ)
ใช้:
นักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงานเรื่องเล่าวันปิดเรียนตามจินตนาการสร้างสรรค์
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๔-๕ คน
- ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำในช่วงปิดเรียน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังเรื่องเล่า
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนเล่าเรื่องตามจินตนาการ



ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อสารเรื่องราวต่างๆผ่านการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน เรื่องเล่าวันปิดเรียน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานเรื่องเล่าวันปิดเรียนของตนเอง
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น แสดงทัศนคติและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน
–เขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น
- เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักคิด นักสร้างสรรค์


Day

Input

Process 

Output

Outcome







ศุกร์
โจทย์
 - สร้างฉันทะสร้างแรงบันดาลใจ
-คาดเดาเรื่อง
คำถาม:
- นักเรียนคิดว่า เรื่องราว เนื้อหาในวรรณกรรมจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share สิ่งที่สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณกรรมที่ฟัง ข้อคิดที่ได้จากการฟังเรื่องเล่า
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องที่ได้ฟัง
- Show and Share ผลงานคาดเดาเรื่องตามจินตนาการ
- Wall Thinking ผลงานนิทาน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

ขั้นนำ
-ครูนำหนังสือ “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”มาให้นักเรียนได้สังเกต
-ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิถีชีวิตในอดีต “ใครเคยฟังเรื่องเล่าสมัยคุณตาคุณยายังเป็นเด็กบ้าง” นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่า เรื่องราว เนื้อหาในวรรณกรรมจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนคาดเดาจากเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”
ใช้:
นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กตามจินตนาการสร้างสรรค์ พร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๔-๕ คน
- ครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเนื้อหา เรื่องราวในหนังสือวรรณกรรม “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”

- นำเสนอผลงานคาดเดาเรื่อง และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนคาดเดาเรื่อง

*การบ้าน
เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน



ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อสารเรื่องราวต่างๆผ่านการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานคาดเดาเรื่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานเรื่องเล่าวันปิดเรียนของตนเอง
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น แสดงทัศนคติและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน
–เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น
- เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักคิด นักสร้างสรรค์

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน






















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรู้นักเรียนตื่นเต้นและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ วันแรกของการเรียนรู้ได้วางแผนว่าจะเป็นการทักทายและแรกเปลี่ยนเกี่ยวกับวันหยุดปิดเรียนที่ผ่านมาแต่เนื่องจากนักเรียนได้ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนไปแล้วในจิตศึกษา ครูจึงสุ่มให้นักเรียนเล่ากิจกรรมปิดเรียนเพียง๒-๓คนแล้วจึงเปลี่ยนกิจกรรมเป็นการทบทวนและวางข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกันแทน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ระหว่างการเรียนเราจะเรียนรู้ร่วมกันอย่างไร” ซึ่งนักเรียนเสนอว่า “ตั้งใจเรียน ไม่ส่งเสียงดัง มีผู้พูดก็มีผู้ฟัง ส่งงานตรงเวลา (งานเสร็จในชั่วโมง หากมีค้างให้เสร็จก่อนกลับบ้าน) เป็นต้น
    หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระต้นคิด “พี่ๆแต่ละคนมีเป้าหมายในการเรียนภาษาไทยใน Quarter นี้อย่างไร” โดยให้นักเรียนเขียนลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็กๆ
    พี่ครัช : ผมตั้งใจว่าจะตั้งใจเรียน หากมีงานค้างจะรีบเคลียร์งานให้เสร็จทุกวัน
    พี่พุด : ผมจะเขียนตัวหนังสือให้สวย ทำงานให้เสร็จทุกวัน จะตั้งใจทำงานและงานทุกชิ้นจะออกมาสวย
    พี่ฝ้าย : หนูจะอ่านหนังสือให้มากขึ้นพัฒนาตนเองให้เป็นครูภาษาไทยได้
    พี่ตะวัน : ผมจะทำงานให้เสร็จตรงเวลา และไม่มีงานค้าง
    พี่ทัศน์ : ผมจะอ่านหนังสือทุกวัน และเขียนด้วยลายมือที่สวยขึ้น
    หลังจากนักเรียนมีข้อตกลงร่วมกันแล้ววันต่อมาครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับวัยเด็กให้นักเรียนฟัง เล่าเรื่องที่ปู่ย่าเคยเล่าสมัยยังเด็กให้นักเรียนฟัง พี่ภูมิแลกเปลี่ยนว่า “ปู่ของผมเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง๗ ปีตอนนั้นไม่ได้อยู่ที่ลำปลายมาศครับ แต่ปู่ไม่ได้เล่าตอนเด็กครับ” ครูให้นักเรียนดูหนังสือเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กแล้วตั้งคำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร” พี่ออม : น่าจะเกี่ยวกับวิถีชีวิตในอดีต /พี่ภูมิ : น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสงคราม / พี่แบงค์ : น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเล่นหรือของเล่น ฯลฯ หลังจากนักเรียนแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าแล้วครูจึงแจกกระดาษให้นักเรียนคนละหนึ่งแผ่น “พี่ๆเรียนรู้อะไรมาแล้วบ้าง” นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน และเขียนคาดเดาเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กเป็นการบ้าน

    ตอบลบ