เป้าหมายหลัก

week9

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๙  วันที่  ๖ –๑๐ กรกฎาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “ลูกอีสาน”                                                                                                                                      เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.............................................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  ลูกอีสาน
สาระสำคัญ :        การถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพต่อบุคคล ชุมชน ธรรมชาติ เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม ตลอดจนความเชื่อของชาวอีสาน

Big  Question :   ความยาก ความเหนื่อย ปัญหา หรืออุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเราอย่างไร
                                                 

เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านเขียนเรียงความได้อย่างสร้างสรรค์ และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม 


Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 คุณค่าของวรรณกรรม และการประยุกต์ใช้
คำถาม:
ความยากจน ความเหนื่อย ปัญหา  การรอคอย (ธรรมชาติ) หรืออุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเราอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share ผลงานคาดเดาเรื่อง (การ์ตูน๓ช่อง)
- Wall Thinking ผลงานการ์ตูนคาดเดาเรื่อง ๓ ช่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ฟังเพลงกล่อมลูก “ลูกอีสาน”
ขั้นกิจกรรม
ชง:
นักเรียนดูภาพยนตร์ลูกอีสาน (ตอนต้นของเรื่อง)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยใช้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
ใช้:
  นักเรียนสรุปเรื่องที่ดูและคาดเดาเรื่องต่อไป “ลูกอีสาน” ในความคิดของนักเรียน จะเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง อย่างไร
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ดูข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง ปัจจุบันนักเรียนมีวิถีชีวิต
ชิ้นงาน
-คาดเดาเรื่องลูกอีสาน
-สรุปเรื่องย่อและออกแบบฉากใหม่

ภาระงาน
-อ่านและสรุปเรื่องที่อ่านให้ครูและเพื่อนๆได้ร่วมเรียนรู้ ซึ่งแต่ละคนได้เรื่องราวที่แตกต่างกัน



ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “ลูกอีสาน” วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและอดีตรวมทั้งปัจจัยการเปลี่ยนแปลง และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสมตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 คุณค่าของวรรณกรรม และการประยุกต์ใช้
คำถาม:
ความยากจน ความเหนื่อย ปัญหา  การรอคอย (ธรรมชาติ) หรืออุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเราอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share ผลงานคาดเดาเรื่อง (การ์ตูน๓ช่อง)
- Wall Thinking ผลงานการ์ตูนคาดเดาเรื่อง ๓ ช่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมลูกอีสานที่ดูผ่านมาแล้ว(ต้นเรื่อง)
ขั้นกิจกรรม
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านวรรณกรรมลูกอีสานคนละตอนแตกต่างกัน (ขั้นนี้นักเรียนได้กลับไปอ่านเป็นการบ้าน วันที่เรียนรู้นักเรียนนำสิ่งที่อ่านมาแลกเปลี่ยนกัน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยใช้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
ใช้:
  นักเรียนวาดภาพสื่อความหมายและสรุปเหตุการณ์สำคัญจากเรื่องลูกอีสาน (ตอนที่ตนเองได้อ่านซึ่งทุกคนได้อ่านตอนที่แตกต่างกัน)
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง ปัจจุบันนักเรียนปฏิบัติอย่างไร และจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่าน


ชิ้นงาน
ภาพสื่อความหมายและสรุปเหตุการณ์สำคัญจากเรื่องลูกอีสาน
ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “ลูกอีสาน” วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและอดีตรวมทั้งปัจจัยการเปลี่ยนแปลง และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสมตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์ ;
 การเขียนเรียงความ
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อสารหรือเขียนถึงตัวละคร เหตุการณ์สำคัญ ฉาก หรือบรรยากาศที่ประทับใจจากเรื่องลูกอีสานเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และการเขียนเรียงความ
- Black Board Share การเขียนเรียงความ (วิธีการ)

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-อินเทอร์เน็ต
- วรรณกรรม “ลูกอีสาน”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายและชื่นชมผลงานภาพเหตุการณ์ประทับใจจากเรื่องลูกอีสาน
ขั้นกิจกรรม
ชง:
-สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องลูกอีสาน ครูอ่านเรียงความ (อีสาน)ให้นักเรียนฟัง แล้วตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเห็นอะไรจากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งนี้คืออะไร และกำลังสื่อสารสิ่งใดกับนักเรียนบ้าง”
-นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม วิเคราะห์และค้นคว้าเกี่ยวกับการเขียนเรียงความ
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนเรียงความ เช่น การสื่อความ การเขียนย่อหน้าต่างๆ การวางสาระ หรือใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เป็นต้น
ใช้:
นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่าน เช่น เขียนถึงตัวละคร เหตุการณ์สำคัญ ฉาก หรือบรรยากาศที่ประทับใจจากเรื่องลูกอีสาน
ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงาน และสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนเรียงความและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนเรียงความ

ชิ้นงาน
เรียงความ

ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อความผ่านการเขียนเรียงความอย่างสร้างสรรค์

ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(เขียนเรียงความ)
-สืบค้นข้อมูล ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายาม มุ่งมั่นในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์ ;
 การเขียนเรียงความ/การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อสารหรือเขียนถึงตัวละคร เหตุการณ์สำคัญ ฉาก หรือบรรยากาศที่ประทับใจจากเรื่องลูกอีสานเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และการเขียนเรียงความ
- Black Board Share การเขียนเรียงความ (วิธีการ)

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-อินเทอร์เน็ต
- วรรณกรรม “ลูกอีสาน”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ชื่นชมผลงานเรียงความที่ยังไม่ได้นำเสนอ
ขั้นกิจกรรม
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด การเขียนสร้างสรรค์ตามจินตนาการกับการเขียนเรียงความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร”
-นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม
เชื่อม
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนเรียงความและการเขียนสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
ใช้
นักเรียนเขียนเรียงความสะท้อนเรื่องราวของเรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งที่นักเรียนสนใจ
ขั้นสรุป
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมลูกอีสาน และการเขียนเรียงความ
ภาระงาน
วิเคราะห์  สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนเรียงความและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรมลูกอีสาน
ชิ้นงาน
เรียงความ

ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อความผ่านการเขียนเรียงความอย่างสร้างสรรค์ จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล

ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(เขียนเรียงความ)
-สืบค้นข้อมูล ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายาม มุ่งมั่นในการทำงาน
ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน
















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านวรรณกรรมลูกอีสาน โดยเริ่มจากการฟังเพลงกล่อมเด็ก (อีสาน) แล้วสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เพลงต้อการสื่อ และเราเห็นอะไรจากเพลงกล่อมนั้น พี่ๆ “เห็นวิถีชีวิต ความเชื่อ แม่ที่ยากลำบาก” เป็นต้น เมื่อฟังเพลงแล้วครูให้นักเรียนดูภาพยนตร์ลูกอีสาน(เฉพาะตอนต้นเรื่อง)เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านและนำเข้าสู่บทเรียน เมื่อนักเรียนดูแล้วครูก็ตั้งคำถามและชวนนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ดูเป็นช่วงๆว่ากำลังสื่อสารอะไรกับคนดูบ้าง หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนได้คาดเดาเรื่องว่าลูกอีสานน่าจะสื่อสารเรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งใดต่อจากเรื่องที่ดูซึ่งนักเรียนจะนำเสนออกมาผ่านภาพวาดประกอบเรื่องราว การ์ตูนสามช่อง(จบ) เมื่อนักเรียนคาดเดาเรื่องแล้วครูจึงให้นักเรียนแต่ละคนกลับไปอ่านเรื่องลูกอีสานเป็นการบ้าน(แต่ละคนได้ตอนที่แตกต่างกัน)แล้วนำมาสนทนาแลกเปลี่ยนกัน เมื่อนักเรียนนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่อ่านแล้วแต่ละคนได้สรุปเรื่องที่อ่านผ่านการวาดภาพประกอบเรื่องราว เหตุการณ์สำคัญจากเรื่องที่อ่านและนำเสนอ
    ในส่วนของหลักภาษาสัปดาห์นี้เป็นการเขียนเรียงความ นักเรียนได้ทดลองเขียนเรียงความในวันพฤหัสบดีแต่เรายังไม่ได้ร่วมสรุปเกี่ยวกับการเขียนเรียงความตามที่วางแผนไว้เพราะนักเรียนยังนำเสนอเรื่องที่อ่านยังไม่ครบจึงใช้เวลาในวันศุกร์นำเสนอเพิ่มเติม เมื่อนำเสนอเสร็จนักเรียนอยากดูภาพยนตร์ให้จบ เพราะอยากรู้ว่าจะเหมือนหรือจากเรื่องที่อ่านในหนังสืออย่างไร จึงพักเรื่องการเขียนเรียงความไว้ก่อน และจะนำมาสรุปอีกครั้งในสัปดาห์ถัดไป
    *** สัปดาห์หน้าเป็นการแสดงละครบทบาทสมมุติ นักเรียนจึงจับฉลากเพื่อแบ่งกลุ่มละคร และเตรียมความพร้อมไว้ด้วย

    ตอบลบ