เป้าหมายหลัก

week7

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๗  วันที่  ๒๒-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.............................................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง
สาระสำคัญ :        สิ่งต่างๆรอบตัวเราล้วนมีคุณค่าและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ไม่มีสิ่งใดใช้ประโยชน์ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเราว่า เราเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ออย่างคุ้มค่าเพียงไร ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้งหากเรารู้จักดัดแปลงและนำมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

Big  Question :   สิ่งที่อยู่รอบตัวเราล้วนมีคุณค่ามีประโยชน์ เราจะใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
                                                 

เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านและเขียนคำควบกล้ำได้ถูกต้อง  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม 


Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 อ่านสรุปสาระสำคัญ
คำถาม:
สิ่งที่อยู่รอบตัวเราล้วนมีคุณค่า มีประโยชน์ เราจะใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Place Mat แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่องสรุปเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ครูเล่าเกี่ยวกับอาหารกลางวันและการกำจัดขยะในโรงเรียน นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน
ขั้นกิจกรรม
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยใช้เรื่องราวทีเกี่ยวข้องกับตนเอง
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพความคิด “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง” ในความคิดของนักเรียน จะเชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง อย่างไร
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง ปัจจุบันนักเรียนปฏิบัติอย่างไร และจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”

ภาระงาน
-อ่านและวิเคราะห์เรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน

- สรุปการอ่าน นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน“ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”



ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง” สามารถวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับละครในปัจจุบันและอดีตผู้อื่น และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์เกี่ยวกับละครในอดีตและปัจจุบัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์ ;
 นำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้
คำถาม:
นักเรียนจะนำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ และการนำคำควบกล้ำไปปรับใช้
- Black Board Share คำศัพท์และการสื่อความหมาย
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านวรรณกรรมที่ผ่านมา ทักทายและชื่นชมผลงานแผนภาพความคิด “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”
ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูพานักเรียนร้องเพลงคำควบกล้ำ “ ควายไล่ขวิดข้างขวา ” สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเพลงที่ร้อง
-นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน แต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกบัตรคำควบกล้ำ (จากเรื่องที่อ่าน)
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรในบัตรคำ นักเรียนคิดว่ามีคำใดอีกบ้างที่เขียนเช่นเดียวกันกับคำนั้น” นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าคำเพิ่มเติม
เชื่อม:
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำที่ได้ (คำควบกล้ำ) จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความ และการนำไปใช้
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด จากกิจกรรมที่ทำนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไร นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ (คำควบกล้ำ)เป็นแผนภาพความคิด ***สรุปคำควบกล้ำที่ได้แลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่ม
ขั้นสรุป
-ครูสุ่ม(จับฉลาก)นักเรียนนำเสนอผลงานแผนภาพความคิด คำควบกล้ำ
-ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทบทวนการบ้าน
ภาระงาน
-ศึกษาค้นคว้าคำควบกล้ำเพิ่มเติม
-นำเสนอคำที่ได้ (คำควบกล้ำ) จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความ และการนำไปใช้


ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด
*การบ้าน
คำคล้องจองคำควบกล้ำ


ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ คำควบกล้ำ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แผนภาพความคิดคำควบกล้ำ)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยคสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายามในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์ ;
 นำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้
คำถาม:
นักเรียนจะนำเสนอ ถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ และการนำคำควบกล้ำไปปรับใช้ ในการเรียนรู้และการทำงาน
-Place mat แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอ
- Black Board Share คำศัพท์และการสื่อความหมายคำควบกล้ำ
-Show & Share ผลงานการเขียนสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา ร้องเพลงคำควบกล้ำ

ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูนำเพลงคำควบกล้ำ  กลอนคำควบกล้ำติดบนกระดาน นักเรียนอ่านและร้องพร้อมกัน “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร”นักเรียนแลกเปลี่ยน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะนำเสนอ ถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับคำควบกล้ำอย่างไร นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำ

เชื่อม:
นักเรียนจับฉลากเลือกกลุ่ม กลุ่มละ ๓คน แต่ละกลุ่มระดมความคิด แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอคำควบกล้ำ เช่น เพลง ละคร ชาร์ต กลอน ฯลฯ ตามความสนใจ
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างสรรค์ชิ้นงานคำควบกล้ำ เพื่อนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ผ่านหัวข้อ “ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้ง”
(ใช้เวลา ๒คาบ)

ภาระงาน
-วิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้คำควบกล้ำ รูปแบบการนำเสนอที่จะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

ชิ้นงาน
เขียนเรื่องสร้างสรรค์คำควบกล้ำ (นิทาน เพลง กลอน บทละคร ชาร์ตฯลฯ)

ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ คำควบกล้ำ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แผนภาพความคิดคำควบกล้ำ)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายามในการทำงาน



Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์ ;
 นำเสนอถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้
คำถาม:
นักเรียนจะนำเสนอ ถ่ายทอดเกี่ยวกับคำควบกล้ำให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ และการนำคำควบกล้ำไปปรับใช้ ในการเรียนรู้และการทำงาน
-Place mat แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอ
- Black Board Share คำศัพท์และการสื่อความหมายคำควบกล้ำ
-Show & Share ผลงานการเขียนสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง”
ใช้:
***กิจกรรมต่อจากวันพฤหัสบดี (สร้างสรรค์ชิ้นงาน/เตรียมความพร้อมในการนำเสนอ)
-นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างสรรค์ชิ้นงานคำควบกล้ำ เพื่อนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ผ่านหัวข้อ “ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้ง”
แล้วเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขั้นสรุป
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ แลกเปลี่ยนคำควบกล้ำรูปแบบต่างๆ
-สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างสร้างสรรค์




ภาระงาน
-วิเคราะห์เกี่ยวกับการเขียน การนำคำการันต์ที่พบเห็นบ่อยๆในชีวิตประจำวันไปใช้อย่าง
สร้างสรรค์
-เตรียมความพร้อมการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ชิ้นงาน
เขียนเรื่องสร้างสรรค์คำควบกล้ำ (นิทาน เพลง กลอน บทละคร ชาร์ตฯลฯ)

ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ คำควบกล้ำ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แผนภาพความคิดคำควบกล้ำ)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
-มีความพยายามในการทำงาน

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน

































1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่างๆ ผ่านวรรณกรรมไม่มีอะไรเหลือทิ้ง” ทุกคนช่วยกันวิเคราะห์ว่าสิ่งใดบ้างที่เราสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ทิ้งอะไรเลย เช่นสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ในห้องเรียน ในชีวิตประจำวัน หรืออาหารที่เรารับประทานแต่ละมื้อ เราจะจักการอย่างไร พี่ๆหลายคนเสนอเช่น ตักแต่พอกิน กินให้หมด ไปใส่ต้นไม้เป็นปุ๋ย ฯลฯ แล้วสิ่งของเช่นถุงพลาสติกล่ะคะพี่ๆจะจัดการอย่างไร “ เก็บเอาไปใส่ของใหม่ พับเก็บไว้ใช้ เป็นถุงใส่ขยะเป็นต้น ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน “ครูครับไม่มีอะไรเหลือทิ้งครับ เราต้องกินให้หมดครับ” พี่ครัชบอก
    หลักภาษาในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องคำควบกล้ำครูนำกิจกรรมโดยการพาพี่ๆร้องเพลงคำควบกล้ำ ว ควบกล้ำ แล้วให้พี่ๆแบ่งกลุ่ม ๆละเท่ากัน แต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกบัตรคำ ซึ่งเป็นคำควบกล้ำจากวรรณกรรมที่อ่าน นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันค้นคำควบกล้ำที่เป็นตัวควบกล้ำเหมือนกับที่จับฉลากได้แล้วแต่ละกลุ่มนำเสนอให้เพื่อนๆได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังจากนั้นทุกคนรวมเสนอว่า ร ล ว สามารถไปควบกับพยัญชนะตัวใดได้อีกบ้าง เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำและค้นคำเพิ่มเติมแล้ว ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด หากนักเรียนจะนำเสนอ “ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้ง” ผ่านคำควบกล้ำที่เป็นเพลง กลอน หรือนิทานให้ผู้อื่นเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกันอย่างไร นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงานและนำเสนอให้เพื่อนๆได้ร่วมเรียนรู้

    ตอบลบ