เป้าหมายหลัก

week4

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๔  วันที่  ๑-๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.............................................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรือไม้ซาง
สาระสำคัญ :        ความสุขหาได้ง่ายๆจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ทั้งของเล่น ของใช้หากรู้จักประยุกต์ล้วนเกิดคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

Big  Question :   นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร


เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถคำเชื่อมประโยคในการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม เขียนย่อความได้ถูกต้อง  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม  สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้


Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 อ่านสรุปสาระสำคัญ
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “เรือไม้ซาง”
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเล่นในสมัยเด็กของครู “เวลาฝนตกเราทำเรือเล่นกัน....” นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ (ให้เป็นเรื่องของตนเอง)
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพความคิด “เรือไม้ซาง”
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับนิทานที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง ปัจจุบันการเล่นของเด็กๆเป็นอย่างไรบ้าง
ชิ้นงาน
แผนภาพโครงเรื่อง (ตอนจบใหม่)

ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม “เรือไม้ซาง”
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับ การเล่นและของเล่น นักเรียนคิดว่ามีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสิ่งใดบ้าง เหตุใดจึงคิดเช่นนั้น การเล่นในปัจจุบันเหมือนหรือเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
- สรุปการอ่าน นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน


ความรู้
วิถีที่เรียบง่าย อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเห็นคุณค่า ปรับชีวิตวิถีให้สมดุลกับธรรมชาติ ไม่ปล่อยให้โอกาสและเวลาสูญเปล่า
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์ ;
 สื่อความ และนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อความคำและนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “เรือไม้ซาง

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านวรรณกรรมที่ผ่านมา ทักทายและชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)

ขั้นสอน
ชง:
-ครูอ่านคำศัพท์ใหม่จากเรื่อง “เรือไม้ซาง” และคำศัพท์พื้นฐานของชั้น ป.๖ นักเรียนเขียนคำศัพท์ตามคำบอก  ๒๐ คำ
-ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบคำศัพท์ที่ถูกต้องและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายและการสื่อความ
-นักเรียนค้นคว้าและหาความหมายของคำศัพท์เพิ่มเติม
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความคำศัพท์เพิ่มเติม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สนใจแต่งประโยคความรวม ๕ประโยค พร้อมทั้งวาดภาพตกแต่งให้สวยงาม (เพราะ  แต่  แต่ทว่า  และ พร้อมทั้ง)
ขั้นสรุป
-ครูสุ่ม(จับฉลาก)นักเรียนนำเสนอผลงานประโยคสร้างสรรค์
-ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทบทวนการบ้าน
ภาระงาน
-เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
-แลกเปลี่ยนความหมาย วิเคราะห์การสื่อความและการนำคำศัพท์ไปใช้

ชิ้นงาน
ประโยคสร้างสรรค์
*การบ้าน
เลือกคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก ๑ คำ แล้วเขียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์เป็นแผนภาพความคิด


ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แต่งประโยคสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยคสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์
 เชื่อมประโยค
คำถาม:
นักเรียนจะเขียนประโยคเพื่อสื่อความนั้น ต้องเขียนอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share การเขียนแต่งประโยค
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการเขียนแต่งประโยค
- Show and Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “เรือไม้ซาง”
- ประโยคชนิดต่างๆ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา แล้วชื่นชมผลงานการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ที่นักเรียนทำเป็นการบ้าน
ขั้นสอน
ชง:
-ครูติดประโยคบนกระดานคละทั้งความเดียวและความรวม นักเรียนอ่านแต่ละประโยคพร้อมๆกัน
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง / นักเรียนเห็นความเหมือนหรือความต่างในแต่ละประโยคอย่างไร” นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ประโยค (**ประโยคจากเรื่องที่อ่าน)
-ครูแจกประโยคให้นักเรียนคนละ๑ประโยค  (ไม่ซ้ำกัน) นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ประโยคของตนเอง มีกี่ประโยค เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
 เชื่อม:
-ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประโยคที่นักเรียนวิเคราะห์ ประโยคที่แต่ละคนได้เป็นประโยคชนิดใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งประโยคโดยใช้คำที่กำหนดให้ (ทั้ง...ก็ แต่ทว่า  หรือ ฉะนั้น...จึง  เพราะ...จึง)
ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงานประโยคสร้างสรรค์ ครูและเพื่อนชื่นชมและแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสม
ภาระงาน
วิเคราะห์ประโยค สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประโยค

ชิ้นงาน
ประโยคจากคำที่กำหนดให้ (ทั้ง...ก็ แต่ทว่า  หรือ ฉะนั้น...จึง  เพราะ...จึง)
** แต่งเรื่องสร้างสรรค์ (ใช้คำสันธานเป็นตัวเชื่อม)

ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ประโยคที่ใช้คำสันธานชนิดต่างๆ สามารถใช้คำสันธานแต่งประโยคได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(การแต่งประโยค)
-นำเสนอ สื่อความหมายประโยคชนิดต่างๆ
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์
 สรุปองค์ความรู้
คำถาม:
นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับคำสันธานและการแต่งประโยคให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share การเขียนแต่งประโยค
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการเขียนแต่งประโยค และการสรุปองค์ความรู้
- Show and Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “เรือไม้ซาง”


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา แล้วชื่นชมผลงานการแต่งประโยคสร้างสรรค์(** นักเรียนที่ยังไม่ได้นำเสนอ)

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับคำสันธานและการแต่งประโยคให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร"
เชื่อม:
นักเรียนแลกเปลี่ยนคำสันธาน การสื่อความหมาย และการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับคำสันธานและการแต่งประโยคชนิดต่างๆตามความสนใจ

ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงาน ทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำสันธานและการแต่งประโยค
ภาระงาน
อ่านเรื่องสั้นและย่อบทความแล้วแลกเปลี่ยนวิธีการย่อความกับเพื่อน

ชิ้นงาน
สรุปองค์ความรู้คำสันธาน
ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์คำสันธาน ประโยคชนิดต่างๆ สามารถใช้คำสันธานและแต่งประโยคได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(ศึกษาค้นคว้า ทำชิ้นงาน)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำสันธานในการแต่งประโยคให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน





























1 ความคิดเห็น:

  1. ...เรือไม้ซาง... สัปดาห์นี้พี่ป.๖ไม่ได้อ่านหนังสือที่โรงเรียนด้วยกันเพราะวันจันทร์เป็นวันหยุด (วิสาขบูชา) พี่ๆนำหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน แล้วสรุปเป็นแผนภาพโครงเรื่อง...วันต่อมาจึงนำเรื่องที่อ่านมาแลกเปลี่ยนกันที่โรงเรียน...พี่ๆช่วยกันทบทวนเรื่องที่อ่าน ต่อเติมกันและกัน บอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติม"ครูขาไม้ซางเป็นยังไงคะ" ...ครู: จากเรื่องที่อ่าน พี่ๆคิดว่าไม้ซางเป็นอย่างไรคะ " ...น่าจะเป็นไม้ไผ่นะครับครู ผมว่าเป็นไม้ไผ่ลำเล็กๆน่ะครับ ...ที่เอามาทำเรือน่าจะเป็นลำใหญ่ๆนะ แต่อันที่เอามาเป่าลูกดอกน่ะผมว่ามันน่าจะเป็นไม่ไผ่ลำเล็กๆนะครับ ...เหมือนลูกดอกของเงาะป่าน่ะครับครู ...
    .....ประโยคสื่อความแตกต่างกันพี่ๆจะสื่อความเรื่องราวสร้างสรรค์โดยใช้ประโยคแต่ละหน้าที่อย่างไร.... พี่ๆศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนิดและหน้าที่ของประโยคว่าประโยคมีกี่ชนิด อะไรบ้าง แต่ละประโยคทำหน้าที่อย่างไร คำบุพบท คำสันธานที่ใช้กับประโยคชนิดต่างๆสื่อความประโยคอย่างไร หลังศึกษาค้นคว้าแล้วจึงกลับมาแลกเปลี่ยนกันโดยการยกตัวอย่างประโยค แต่ละชนิด แต่ละหน้าที่ เมื่อเรียนรู้แล้วก่อนทำงานแต่งเรื่องสร้างสรรค์ พี่ๆทุกคนได้มีโอกาสในการยกตัวอย่างประโยคที่ทำหน้าที่สื่อสารต่างๆ คนละ ๑ ประโยคเพื่อเป็นการย้ำทวนความเข้าใจอีกรอบหนึ่งก่อนการนำไปใช้ในการแต่งเรื่องสร้างสรรค์

    ตอบลบ