เป้าหมายหลัก

week3

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๓  วันที่  ๒๕-๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”                                                                                                              เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.........................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  ข้าวสุกหนึ่งจาน
สาระสำคัญ :        ...ข้าวเอยข้าวสุก กว่าจะมาเป็นข้าวให้เรากิน ชาวนาสิ้นกำลังกันทั้งปี...

Big  Question :   ข้าวสุกหนึ่งจาน เกี่ยวข้องกับสิ่งใดบ้าง


เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถคำเชื่อมประโยคในการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม เขียนย่อความได้ถูกต้อง  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม  สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้



Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
 อ่านสรุปสาระสำคัญ
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ข้าวสุกหนึ่งจาน”
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย เช้านี้นักเรียนรับประทานอาหารเช้าเป็นอะไรบ้าง ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านในใจคนเดียว
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ (ให้เป็นเรื่องของตนเอง)
ใช้:
  นักเรียนสรุปความข้าวใจ เชื่อมโยงกว่าจะเป็นข้าวสุกหนึ่งจาน (ตีความเป็นภาพการ์ตูนสามช่องจบ)
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับนิทานที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง  ทบทวนการบ้าน
ชิ้นงาน
ภาพเชื่อมความสัมพันธ์ กว่าจะเป็นข้าวสุกหนึ่งจาน (ตีความเป็นภาพ)

ภาระงาน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม “ข้าวสุกหนึ่งจาน”

- นำเสนอผลงาน “กว่าจะเป็นข้าวสุกหนึ่งจาน” และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

การบ้าน
ภาพวาดสร้างสรรค์ “กว่าจะเป็นเมล็ดข้าว”



ความรู้
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของวิถีชีวิตของชาวนาและความเชื่อเกี่ยวกับข้าว สามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองได้
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์ ;
 สื่อความ และนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์

คำถาม:
นักเรียนจะสื่อความคำและนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์อย่างไร
เครื่องมือคิด :
-Round Robin  คำและการสื่อความ
-Show & Share ผลงานประโยคสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ข้าวสุกหนึ่งจาน”
- เพลง เปิบข้าว
ขั้นนำ
-ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านวรรณกรรมที่ผ่านมา ทักทายและชื่นชมผลงานภาพวาดกว่าจะเป็นเมล็ดข้าว
-ฟังเพลง เปิบข้าว
ขั้นสอน
ชง:
-ครูอ่านคำศัพท์ใหม่จากเรื่อง “ข้าวสุกหนึ่งจาน” และคำศัพท์พื้นฐานของชั้น ป.๖ นักเรียนเขียนคำศัพท์ตามคำบอก  ๒๐ คำ
-ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบคำศัพท์ที่ถูกต้องและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายและการสื่อความ
-นักเรียนค้นคว้าและหาความหมายของคำศัพท์เพิ่มเติม
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความคำศัพท์เพิ่มเติม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สนใจแต่งประโยคความรวม ๑๐คำแต่งเรื่อง พร้อมทั้งวาดภาพตกแต่งให้สวยงาม
ขั้นสรุป
-ครูสุ่ม(จับฉลาก)นักเรียนนำเสนอผลงานประโยคสร้างสรรค์
-ครูและนักเรียนร่วมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ฟังเพลงเปิบข้าวทบทวนการบ้าน
ภาระงาน
-เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
-แลกเปลี่ยนความหมาย วิเคราะห์การสื่อความและการนำคำศัพท์ไปใช้

ชิ้นงาน
แต่งเรื่องสร้างสรรค์

*การบ้าน
เลือกคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก ๕ คำ แล้วเขียนแต่งเรื่อง หัวข้อ “ชีวิต”


ความรู้
เข้าใจความหมายของคำศัพท์ สามารถวิเคราะห์ แล้วนำไปใช้เพื่อสื่อความได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(แต่งประโยคสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความหมายคำศัพท์ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแต่งประโยคสร้างสรรค์
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี
โจทย์
แต่งเรื่องสร้างสรรค์
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อสารเรื่องราวต่างๆ
ผ่านการเขียนให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- Show and Share ผลงานเรื่องแต่งสร้างสรรค์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ข้าวสุกหนึ่งจาน”
-  เพลงเปิบข้าว / กาพย์ยานี๑๑ เปิบข้าว

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้ผ่านมา แล้วชื่นชมผลงานการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ที่นักเรียนทำเป็นการบ้าน

ขั้นสอน
ชง:
ครูและนักเรียนฟังและร้องเพลงเปิบข้าว

เชื่อม:
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเพลง คำและการสื่อความในเพลง
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งเรื่องของตนเอง “นักเรียนจะสื่อสารความคิดจินตนาการของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการเขียนอย่างไร

ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนอผลงานเรื่องแต่งสร้างสรรค์
ภาระงาน
วิเคราะห์ประโยค สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประโยค

ชิ้นงาน
เรื่องแต่งสร้างสรรค์

ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนสาระสำคัญของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (เพลง เปิบข้าว) สามารถเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารให้เข้าใจได้
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(การแต่งเรื่องสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความเรื่องสร้างสรรค์(การเขียนเชิงสร้างสรรค์)
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์
สรุปองค์ความรู้แต่งเรื่องสร้างสรรค์
คำถาม:
นักเรียนจะสื่อสารเรื่องราวต่างๆ
ผ่านการเขียนให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ส่วนประกอบของเรื่องสร้างสรรค์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- Show and Share ผลงานเรื่องแต่งสร้างสรรค์/สรุปองค์ความรู้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก “ข้าวสุกหนึ่งจาน”
-  เพลงเปิบข้าว / กาพย์ยานี๑๑ เปิบข้าว


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ร้องเพลง เปิบข้าว

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร"
เชื่อม:
-นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ (ส่วนประกอบของเรื่อง) พร้อมทั้งเสนอแนะการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
-นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ๕-๖ คน แต่ละกลุ่มวางแผนสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งเรื่องสร้างสรรค์
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ ผ่านรูปแบบที่หลากหลายตามความสนใจ (ละคร กลอน เพลง นิทาน การ์ตูนช่อง ฯลฯ)

ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน ทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแต่งเรื่องสร้างสรรค์
ภาระงาน
-วิเคราะห์ส่วนประกอบของเรื่องสร้างสรรค์ วางแผนการสรุปองค์ความรู้
-นำเสนอถ่ายทอดองค์ความรู้

ชิ้นงาน
สรุปองค์ความรู้แต่งเรื่องสร้างสรรค์ แล้วสรุปสนใจ (ละคร กลอน เพลง นิทาน การ์ตูนช่อง ฯลฯ)
**งานกลุ่ม
ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนสาระสำคัญของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (เพลง เปิบข้าว) สามารถเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารให้เข้าใจได้
ทักษะ
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน(สรุปองค์ความรู้การแต่งเรื่องสร้างสรรค์)
-นำเสนอ สื่อความเรื่องสร้างสรรค์(การเขียนเชิงสร้างสรรค์)
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- เคารพ ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
- เรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน

































































1 ความคิดเห็น:

  1. "ข้าวสุกหนึ่งจาน" เกี่ยวข้องกับสิ่งใดบ้าง ...พี่ๆอ่าน วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน จากคำ วลี ประโยค เป็นเรื่องราวสร้างสรรค์ที่เกิดจากการตีความเรื่องราวที่อ่าน (วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก/เพลงเปิบข้าว) ...เชื่อมโยงวิถีปัจจุบัน นำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติที่ผ่านกระบวนการทำงานกลุ่ม... รับฟัง เคารพความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย เป็นทั้งผู้นำและผู้ตามเพราะเราเรียนรู้ร่วมกัน
    "กินหกเป็นหว่านนา มันคืออะไรครับครู" ...ครู "จากประโยคที่อ่านพี่คิดว่าน่าจะหมายถึงอะไรคะ (ครูตั้งคำถามต่อ) ..."น่าจะหมายถึงกินมูมมาม"... "กินไม่มีมารยาท"... "กินหกกระจายเต็มไปหมด เหมือนเวลาเราหว่านข้าวในนาต้องหว่านกระจายๆ"...พี่ภูมิแสดงความคิดเห็น...เปิบข้าวนี่หมายถึงกินข้าวใช่ไหมคะครู .... ครูตั้งคำถามจากเพลงพี่ๆคิดว่า คำว่า "เขียวคาว" ...น่าจะกล่าวถึงอะไรคะ....พี่ๆบอกว่าเป็นต้นข้าวสีเขียว ...แล้ว"คาว"ละคะ...พี่ๆคิดว่าน่าจะกล่าวถึงอะไร ...บางคนบอกว่าคาวเหงื่อ คาวดิน คาวเลือด บางคนบอกว่าขมขื่นมั้งครู...อ่านความคิด ตีความความหมายที่ซ่อนอยู่...
    สัปดาห์นี้เราอ่านวรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เรื่อง ข้าวสุกหนึ่งจานเมื่ออ่านแล้วนักเรียนได้ช่วยก้นทบทวนเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปเรื่องราวเป็นการ์ตูนภาพ สามช่องจบ หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด เรื่องข้าวสุกหนึ่งจานกับเพลงเปิบข้าวที่เราเคยร้องกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นกำลังกล่าวถึงสิ่งใด นักเรียนแลกเปลี่ยน เช่น “เราควรกินข้าวให้หมด เราไม่ควรกินทิ้งกินขว้าง กินไม่หมดก็เอาไปเป็นอาหารสัตว์ เราควรสงสารชาวนาที่ปลูกข้าวให้เรากิน ชาวนาลำบาก” เป็นต้น เมื่อนักเรียนวิเคราะห์เรื่องแล้วครูเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านเข้าสู่การเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ โดยการเขียนคำจากเรื่องที่อ่าน (ขมขื่น ไม่มีข้าวสารกรอกหม้อ ที่สูซดกำซาบฟัน เขียวคาว ข้าวสุกหนึ่งจาน) แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจับฉากเลือกคำและคิดเชื่อมโยงคำที่เกี่ยวข้องกัน แล้วเลือกคำที่กลุ่มกระทบที่สุดหนึ่งคำถ่ายทอดเป็นภาพนิ่งหนึ่งภาพให้เพื่อนช่วยกันบอกว่าเป็นภาพอะไร เมื่อครบทุกกลุ่มแล้วนักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนว่าทำไมจึงเลือกคำนั้น หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละคนเลือกคำที่เกิดจากการคิดและการเขียนเชื่อมคำ ๑๐คำไปใช้ในการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ เมื่อเรียนรู้การแต่งเรื่องสร้างสรรค์แล้วนักเรียนแบ่งกลุ่มเป็นสี่กลุ่มเท่าๆกัน แต่ละกลุ่มเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์(บทละคร)เพื่อสรุปสิ่งที่เรียนรู้และการนำไปใช้ผ่านการแสดงละครบทบาทสมมุติ

    ตอบลบ