เป้าหมายหลัก

week11

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๒  Quarter     ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๑๑  วันที่   ๒๐-๒๔  กรกฎาคม   ๒๕๕๘                                                                                                                                   เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรม (เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก  /ลูกอีสาน)

......................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  สรุปองค์ความรู้

สาระสำคัญ :                        คุณค่าของวรรณกรรมและการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
Big  Question :                 นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างไร

เป้าหมายย่อย :                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้องแก้วได้ เข้าใจความหมายสาระสำคัญของเรื่อง  จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน ละครบทบาทสมมุติ เพื่ออธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถสรุปองค์ความรู้วรรณกรรมไทยจากเรื่องที่เรียนมา(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน) และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นได้  อีกทั้งสรุปองค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  และนำเสนอได้


Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
ละครบทบาทสมมุติ (ภาพนิ่ง)
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสานผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Robin แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเองและเหตุการณ์สำคัญในเรื่องที่อ่าน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและการนำเสนอ
- Show and Share การแสดงภาพนิ่งจำลองเหตุการณ์ในเรื่องลูกอีสาน (ตอนต่างๆ)
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย วันหยุดที่ผ่านมานักเรียนได้เรียนรู้หรือได้ทำอะไรบ้าง

ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “หลังจากนักเรียนอ่านวรรณกรรมลูกอีสานมาแล้ว นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
-นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากลูกอีสานตอนต่างๆของสมาชิกในกลุ่มที่ได้อ่านไปแล้ว
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมลูกอีสานตอนที่อ่านกับสมาชิกในกลุ่ม แต่ละกลุ่มเลือกตอนที่สนใจ วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในตอนที่อ่าน ๓ เหตุการณ์
ใช้:
  นักเรียนสรุปทบทวนโดยการแสดงจำลองเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งในเรื่องลูกอีสานแล้วสรุปเป็นภาพนิ่งสามภาพต่อเนื่องกัน (บทบาทสมมุติ) เพื่อนๆช่วยกันทายว่าเป็นตอนใด

ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
ภาพนิ่งบทบาทสมมุติ

ภาระงาน
วิเคราะห์ สนทนาและเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่านและภาพยนตร์ที่ดู(ลูกอีสาน)

ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “ลูกอีสาน” วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและอดีตรวมทั้งปัจจัยการเปลี่ยนแปลง และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการแสดงท่าทางได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ



โจทย์
สรุปองค์ความรู้ (กิจกรรมต่อเนื่อง ๓ คาบเรียน)
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน และหลักภาษาอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  Round Robin แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนสรุปองค์ความรู้
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)
-Black Board Share สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา ทั้งวรรณกรรมและหลักภาษา
-Place Mat สิ่งที่เหมือน หรือต่างกันของวรรณกรรม คุณค่าและการนำไปปรับใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
-ลูกอีสาน
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายกันและกัน ชื่นชมการนำเสนอและการสรุปเหตุการณ์ผ่านการแสดงท่าทางเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูสนทนาแลกเปลี่ยนกับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสาน
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสาน ทั้งสองเรื่องเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร”
-นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์เกี่ยวกับวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง
เชื่อม:
-นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่าน คุณค่าและการนำไปประยุกต์ใช้
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้” นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนเสนอบนกระดาน
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพความคิด (Mind Mapping) สิ่งที่ได้เรียนรู้
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ และสิ่งที่นักเรียนจะทำในวันต่อไป
ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด (Mind Mapping)

ภาระงาน
วิเคราะห์วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และเรื่องลูกอีสาน รวมทั้งหลักภาษาเพื่อนำไปใช้ในการสรุปองค์ความรู้หลังการเรียนรู้
ความรู้
อ่านเรื่องราวร้องแก้วได้ เข้าใจความหมายสาระสำคัญของเรื่อง(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)  จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถสรุปองค์ความรู้วรรณกรรมไทยจากเรื่องที่เรียนมา(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน) และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นได้  อีกทั้งสรุปองค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  และนำเสนอได้ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านบทละครได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเขียนบทละคร หรือต่อสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความพยายามในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome






***กิจกรรมต่อจากวันพุธที่ผ่านมา



พฤหัสบดี

โจทย์
สรุปองค์ความรู้
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน และหลักภาษาอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  Round Robin แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนสรุปองค์ความรู้
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)
-Black Board Share สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา ทั้งวรรณกรรมและหลักภาษา
-Place Mat สิ่งที่เหมือน หรือต่างกันของวรรณกรรม คุณค่าและการนำไปปรับใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
-ลูกอีสาน

*** เป็นกิจกรรมต่อจากวันพุธที่ผ่านมา นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

ขั้นกิจกรรม

ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพความคิด (Mind Mapping) สิ่งที่ได้เรียนรู้
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ และสิ่งที่นักเรียนจะทำในวันต่อไป
ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด (Mind Mapping)

ภาระงาน
วิเคราะห์วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และเรื่องลูกอีสาน รวมทั้งหลักภาษาเพื่อนำไปใช้ในการสรุปองค์ความรู้หลังการเรียนรู้

ความรู้
อ่านเรื่องราวร้องแก้วได้ เข้าใจความหมายสาระสำคัญของเรื่อง(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)  จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถสรุปองค์ความรู้วรรณกรรมไทยจากเรื่องที่เรียนมา(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน) และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นได้  อีกทั้งสรุปองค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  และนำเสนอได้
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านบทละครได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเขียนบทละคร หรือต่อสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความพยายามในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์
สรุปองค์ความรู้
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน และหลักภาษาอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  Round Robin แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนสรุปองค์ความรู้
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)
-Black Board Share สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา ทั้งวรรณกรรมและหลักภาษา
-Place Mat สิ่งที่เหมือน หรือต่างกันของวรรณกรรม คุณค่าและการนำไปปรับใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

*** เป็นกิจกรรมต่อจากวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

ขั้นกิจกรรม

ใช้:
  -นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพความคิด (Mind Mapping) สิ่งที่ได้เรียนรู้
ขั้นสรุป   
 -ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ และสิ่งที่นักเรียนจะทำในวันต่อไป
-นักเรียนนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคล ครูและเพื่อนร่วมแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสม

* ตลอดสัปดาห์นี้นักเรียนเตรียมสรุปสิ่งที่เรียนรู้ภาษาไทยกับสาระการเรียนรู้อื่น โดยนักเรียนเป็นผู้ออกแบบการเผยแพร่และสรุปสิ่งที่เรียนรู้เอง
ชิ้นงาน
แผนภาพความคิด (Mind Mapping)

ภาระงาน
วิเคราะห์วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และเรื่องลูกอีสาน รวมทั้งหลักภาษาเพื่อนำไปใช้ในการสรุปองค์ความรู้หลังการเรียนรู้

ความรู้
อ่านเรื่องราวร้องแก้วได้ เข้าใจความหมายสาระสำคัญของเรื่อง(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)  จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่าการเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถสรุปองค์ความรู้วรรณกรรมไทยจากเรื่องที่เรียนมา(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน) และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นได้  อีกทั้งสรุปองค์ความรู้การเรียนภาษาไทย  และนำเสนอได้
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านบทละครได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเขียนบทละคร หรือต่อสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความพยายามในการทำงาน

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน






























1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ นักเรียนได้เตรียมสรุปและนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่านว่าได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่อ่านบ้าง พี่ๆร่วมแลกเปลี่ยนเช่น ได้เห็นวิถีชีวิตของคนอีสานในอดีตว่าดำรงชีวิตอย่างไร / ได้รู้ว่าการกินของเราเปลี่ยนไป คนอีสานในอดีตไม่มีร้านอาหารพวกพิชซา เคเอฟซี /อีสานในอดีตแห้งแล้งมากและลำบาก/ ชีวิตที่ลำบากต้องพึ่งพาและรอคอยธรรมชาติ/ วิถีชีวิตของเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายกับเรื่องลูกอีสานแตกต่างกัน เป็นคนในเมืองกับชนบท / ทำให้เราไม่ลืมตัวเองว่าเราเป็นคนอีสาน เป็นต้น หลังจากนั้นแต่ละคนได้ช่วยกับทบทวนหลักภาษาว่าได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง มีเรื่องใดที่ยังสงสัยหรืออยากเรียนรู้เพิ่มเติมบ้าง ซึ่งนักเรียนทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนแล้วสรุปเป็นแผนภาพความคิด (Mind Mapping) หลังจากนั้นนักเรียนจึงเตรียมตัวสรุปประมวลสิ่งที่เรียนรู้แต่ละสาระการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนช่วยกันวางแผนและเตรียมความพร้อมด้วยตนเอง

    ตอบลบ