เป้าหมายหลัก

week10

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย


ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สัปดาห์ที่  ๑๐  วันที่  ๑๓–๑๗ กรกฎาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมไทย “ลูกอีสาน”                                                                                                                                      เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
.............................................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  ลูกอีสาน
สาระสำคัญ :        การถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพต่อบุคคล ชุมชน ธรรมชาติ เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม ตลอดจนความเชื่อของชาวอีสาน

Big  Question :   ความยาก ความเหนื่อย ปัญหา หรืออุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเราอย่างไร
                                                 

เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านเขียนแต่งเรื่องเพื่อนำมาแสดงละครได้อย่างสร้างสรรค์ และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม 


Day

Input

Process 

Output

Outcome









จันทร์

โจทย์
ละครบทบาทสมมุติ
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสานผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้กับตนเอง
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share ผลงานแผนภาพความคิด
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพความคิด
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านวรรณกรรมและสรุปวรรณกรรมที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย วันหยุดที่ผ่านมานักเรียนได้เรียนรู้หรือได้ทำอะไรบ้าง
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “หลังจากนักเรียนอ่านวรรณกรรมลูกอีสานมาแล้ว นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบสร้างสรรค์ภาพประกอบใหม่
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพความคิด
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้ ชื่นชมผลงานแผนภาพความคิดของเพื่อนๆ
ชิ้นงาน
Mind Mapping ลูกอีสาน

ภาระงาน
วิเคราะห์ สนทนาและเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่านและภาพยนตร์ที่ดู

ความรู้
เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน “ลูกอีสาน” วิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและอดีตรวมทั้งปัจจัยการเปลี่ยนแปลง และนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างเหมาะสมตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน



Day

Input

Process 

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
ละครบทบาทสมมุติ
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสานผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนบทละครสร้างสรรค์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)
-Round Robin สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนบทละครสร้างสรรค์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ชื่นชมผลงานแผนภาพความคิดที่ยังไม่ได้นำเสนอ

ขั้นกิจกรรม
ชง:
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสานผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร”
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มเท่าๆกันแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด เพื่อทบทวนสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน (วรรณกรรมทั้งสองเรื่อง)
-นักเรียนแต่ละกลุ่มวางเค้าโครงของเรื่องที่จะเขียนเป็นบทละครบทบาทสมมุติ

เชื่อม:
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเค้าโครงของเรื่องที่จะแสดงละครบทบาทสมมุติ

ใช้:
  นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนแต่งเรื่อง (บทละคร)ละครสร้างสรรค์

ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ และเตรียมสำหรับการซ้อมและนำเสนอละครบทบาทสมมุติ
ชิ้นงาน
บทละคร

ภาระงาน
วิเคราะห์วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และเรื่องลูกอีสานเพื่อนำไปใช้ในการทำละครบทบาทสมมุติ

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของตนเอง และของกลุ่ม สามารถวิเคราะห์ สรุปเรื่องที่อ่านและเขียนเป็นบทละครบทบาทสมมุติได้อย่างสร้างสรรค์ 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านบทละครได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเขียนบทละคร หรือต่อสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความพยายามในการทำงาน


Day

Input

Process 

Output

Outcome










พฤหัสบดี

โจทย์
ละครบทบาทสมมุติ
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสานผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนบทละครสร้างสรรค์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)
-Round Robin สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนบทละครสร้างสรรค์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

*** กิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากวันพุธ นักเรียนใช้เวลาในวันนี้เพื่อ ซ้อมและเตรียมความพร้อมละครบทบาทสมมุติ

ขั้นนำ
ทบทวนกิจกรรมและหน้าที่การทำงานของแต่ละคน แลกเปลี่ยนสิ่งที่จะทำในวันนี้

ขั้นกิจกรรม
ใช้:
-นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน เตรียมความพร้อมในการนำเสนอ
-นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมนำเสนอละครบทบาทสมมุติ
ชิ้นงาน
บทละคร

ภาระงาน
-วิเคราะห์วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และเรื่องลูกอีสานเพื่อนำไปใช้ในการทำละครบทบาทสมมุติ
-ซ้อมนำเสนอละครบทบาทสมมุติ

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของตนเอง และของกลุ่ม สามารถวิเคราะห์ สรุปเรื่องที่อ่านและเขียนเป็นบทละครบทบาทสมมุติได้อย่างสร้างสรรค์ 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านบทละครได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเขียนบทละคร หรือต่อสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
- ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ผ่านผ่านแง่มุมของตัวละครอย่างสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความพยายามในการทำงาน




Day

Input

Process 

Output

Outcome










ศุกร์
โจทย์
ละครบทบาทสมมุติ
 คำถาม:
นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสานผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร
เครื่องมือคิด :
-  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ข้อคิด สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนบทละครสร้างสรรค์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ลูกอีสาน)
-Round Robin สิ่งที่จะนำไปใช้ในการเขียนบทละครสร้างสรรค์
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- ลูกอีสาน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

*** กิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากวันพุธ และวันพฤหัสบดี นักเรียนใช้เวลาในวันนี้เพื่อ ซ้อมและเตรียมความพร้อมละครบทบาทสมมุติ วันนี้นักเรียนได้นำเสนอผลงานละครบทบาทสมมุติ

ขั้นนำ
สนทนาทักทาย และชื่นชมความตั้งใจในการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ แลกเปลี่ยน

ขั้นกิจกรรม
ใช้:
-นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน เตรียมความพร้อมในการนำเสนอ
-นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมนำเสนอละครบทบาทสมมุติ
-นักเรียนนำเสนอละครบทบาทสมมุติ (ประยุกต์สร้างสรรค์จากเรื่องลูกอีสาน และเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก)
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและสะท้อนเกี่ยวกับการนำเสนอละครบทบาทสมมุติในวันนี้  โดยให้นักเรียนแต่ละคนสะท้อนตนเองว่าเป็นอย่างไร ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ชิ้นงาน
ละครบทบาทสมมุติ

ภาระงาน
-วิเคราะห์วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และเรื่องลูกอีสานเพื่อนำไปใช้ในการทำละครบทบาทสมมุติ
-ซ้อมนำเสนอละครบทบาทสมมุติ
-นำเสนอละครบทบาทสมมุติ

ความรู้
จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านเขียนแต่งเรื่องเพื่อนำมาแสดงละครได้อย่างสร้างสรรค์ และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองอย่างเหมาะสม  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม 
ทักษะ
- นักเรียนอ่านและสามารถสรุปเรื่องราว เนื้อหา สาระสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้ววิเคราะห์สรุปให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านบทละครได้
-มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อการเขียนบทละคร หรือต่อสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการนำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
- ประมวลสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ผ่านผ่านแง่มุมของตัวละครอย่างสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความพยายามในการทำงาน

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้นักเรียนได้สรุปแผนภาพความคิดเรื่องลูกอีสาน แล้วจึงแบ่งกลุ่มโดยการจับฉลากเป็นสองกลุ่มเพื่อแสดงละครบทบาทสมมุติ แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่านทั้งเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กและเรื่องลูกอีสาน(นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรมทั้งสองเรื่องมานำเสนอผ่านละครบทบาทสมมุติอย่างไร) เมื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนแล้วแต่ละกลุ่มจึงช่วยกันเขียนบทละคร โดยตกลงกันว่าละครนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม และสามารถเป็นตัวละครได้มากกว่า ๑บทบาท
    เมื่อแต่ละกลุ่มได้บทละครแล้วจึงลงมือซ้อมตามแผนที่วางไว้ พี่ๆจะได้นำเสนอละครในวันศุกร์แต่เนื่องจากวันศุกร์มีกิจกรรมดำนาของโรงเรียนในช่วงเช้ากิจกรรมการนำเสนอจึงเลื่อนเป็นสัปดาห์ถัดไป

    ตอบลบ